วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัวจ้า

ประวัติส่วนตัวจ้า

ชื่อ นางสาว ปาริชาติ เปี่ยมพืชชนะ ชื่อเล่น ส้ม

อายุ 21 ปี วันเดือนปีเกิด 15 มิถุนายน 2529

สีที่ชอบ สีดำ สีน้ำเงิน สีเทา อาหารที่ชอบ เกาเหลา ข้าวผัดไข่

การศึกษา ปริญญาตรี ปี 3 สถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีลพบุรี

งานอดิเรก ฟังเพลง สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ ภูเขา ทะเล อาชีพในอนาคต เจ้าของกิจการ

คติประจำใจ อดีตไม่สำคัญปัจจุบันสำคัญกว่า เพื่อนในกลุ่ม ฝ้าย ตุ๊กตา เอ๋ วิ



***********************************

***----***หวังว่าเว็บไซต์ที่ได้สร้างมานี้ได้สร้างให้เพื่อนได้รับความรู้กับเรื่องนกได้มากเลยที่เดียวใครสนใจเชิญเข้ามาอ่านกันได้เลยนะค่ะไม่หวงค่ะ โดยเฉพาะเพื่อน ๆ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปี 50 ทุกคนนะค่ะขอบคุณค่ะ
*****----------------------------*****

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร



นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (หนึ่งเดียวในโลก)


*--*ลักษณะโดยทั่วๆไปคล้ายนกนางแอ่น (Swallows) แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวตัว 15 เซนติเมตร ตัวสีดำเหลือบน้ำเงินเข้ม ใต้คอสีน้ำตาลดำ หน้าผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขาและแข้งเป็นสีชาพู จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ นกเจ้าฟ้าฯ จะมีขอบตาสีขาวเป็นวงรอบตาเห็นได้ชัดเจน ทำให้เห็นเหมืนว่าตาของมันพองโปนขึ้นมา ชาวบ้านเรียกนกชนิดนี้ว่า " นกตาพอง" บริเวณสะโพกมีแถบสีขาวขนาดใหญ่เด่นชัด และในขณะที่นกนางแอ่นมีขนหางยาวแฉกลึกนั้น นกเจ้าฟ้าฯ จะมีหางสั้นกลมมน และนกที่โตเต็มที่แล้วจะมีแกนหางคู่กลางเส้นเล็กๆ 2 เส้น ยี่นยาวออกมาประมาณ 8.5 เซนติเมตร คล้ายหางนกหางบ่วง แต่ปลายบ่วงมีขนาดเล็กมาก มีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 35 มิลลิเมตร ปากของนกเจ้าฟ้าฯ มีลักษณะแบนกว้างกว่าปากของนกนางแอ่นมาก
*--*นกเจ้าฟ้าฯ เป็นนกเฉพาะถิ่น (endermic species ) ที่พบได้เพียงแห่งเดียวในโลก คือที่บึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นนกโบราณที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้น้อย จึงมีเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก มีรายงานการค้นพบที่สามารถยืนยันได้เพียง 10 ตัวเท่านั้น และจากรายงานการพบเห็นครั้งหลังสุด ในปี พ.ศ. 2523 จนกระทั้งผ่านมาถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาร่วม 20 ปีมาแล้ว ที่เราไม่ได้เห็นนกเจ้าฟ้าฯ อีกเลย และจากการจัดให้มีการประชุมของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง สถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย โดยกลุ่มนักชีววิทยาในประเทศไทย เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2539 นั้น นกเจ้าฟ้าฯ ได้ถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครสามรถยืนยันได้ว่า ยังมีนกเจ้าฟ้าฯ หลงเหลืออยู่ หรือว่าได้สูญพันธุ์หมดสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว เพราะหลังจากการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2546 นับเป็นเวลาล่วงเลยมาถึง 20 กว่าปีแล้ว ที่เราไม่ได้รับรายงานการพบเห็นนกเจ้าฟ้าฯ อีกเลย จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ทำการค้นหาและศึกษานกเจ้าฟ้าฯ กันอย่างอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้อนุรักษ์นกที่หายากที่สุดในโลก ชนิดนี้ไว้เป็นสมบัติของชาติและของโลกสืบไป
***************************************

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

นกพิราบป่า



นกพิราบป่า (Rock Pigeon)

*--*ลำตัวป้อม หัวเล็ก ขนปกคลุมลำตัวหลากสี แต่ที่พบมากที่สุดมีสีเทาเข้ม และมีแถบใหญ่สีดำขวางที่ปีกสองเส้น คอมีแถบสีเขียวเหลือบ ปากดำและขาแดง เป็นต้นตระกูลของนกพิราบที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน นกที่พบตามธรรมชาติมักเกาะอยู่ตามสายไฟหรือหลังคาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังตามสิ่งก่อสร้างหรือซอกหิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายทั่วประเทศ ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง

*******************************


นกเขาพม่า



นกเขาพม่า (Oriental Turtle Dove)


*---*ลักษณะคล้ายนกเขาใหญ่ ต่างกันตรงที่มีแถบสีดำข้างคอแบ่งเป็นสองแถบไม่ต่อเนื่องกัน และในแถบเป็นลายขีดขาวไม่เป็นจุดอย่างนกเขาใหญ่ อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น และป่าละเมาะ บางครั้งพบเป็นฝูงใหญ่มาก มักหากินตามพื้นดิน อาหารคือ เมล็ดพืช ขุยไผ่และยอดอ่อนของพืช ผสมพันธุ์เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้หรือกิ่งไผ่ สูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3.6 เมตร วางไข่ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อย มีบางส่วนเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์

***************************************

นกเขาใหญ่


นกเขาใหญ่ , นกเขาหลวง (Spotted Dove)


*--*ลำตัวป้อม หัวเล็ก คอ ปากและขาสั้น ขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล มีขีดสีคล้ำกระจายอยู่ทั่ว หัวมีสีเทา หลังคอตอนล่างมีจุดกลมเล็กๆ กระจายอยู่บนแถบพื้นสีดำ อาศัยอยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ ทุ่งโล่งและป่าโปร่ง เวลาหากินจะลงมาเดินหากินอยู่ตามพื้นดิน อาหารได้แก่เมล็ดพืช ผสมพันธุ์เดือนมีนาคม ถึงกรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้ พุ่มไม้หรือป่าไผ่ วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วประเทศ

******************************************

นกเขาลายใหญ่


นกเขาลายใหญ่ (Barred Cuckoo Dove)

*--*ตัวผู้มีลักษณะทางด้านบนตัวมีลายขวางๆ เล็ก สีน้ำตาลปนแดงและสีดำ บริเวณท้ายทองบนกระหม่อม หลังตอนบนและหน้าอกมีสีม่วงอมเขียวเป็นมันวาว คอสีเนื้อ ตัวเมียท้องมีน้ำเงินเข้ม และมีลายขวางๆเล็ก สีดำ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ อาหารคือ แมลงเล็กๆ เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชบางชนิดโดยหากินรวมกันเป็นฝูง ผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายน ทำรังตามต้นไม้หรอกอไผ่ ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยยกเว้นทางภาคใต้
**********************************

นกเขาลายเล็ก



นกเขาลายเล็ก ( Little Cuckoo Dove)


*--*ตัวผู้หัวสีส้ม ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลมีลายสีส้ม หางสีดำ ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลจาง มีลายสีขาวคาดบนหน้าอก ตัวเมียสีคล้ำกว่าและลายเด่นชัดกว่า อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ บางครั้งจะลงมาบนพื้นดินเพื่อกินแมลงเล็กๆ เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชบางชนิด เป็นนกที่ค่อนข้างเชื่อง ผสมพันธุ์เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน ทำรังตามง่ามไม้สูงจากพื้นดินไม่เกิน 8 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อยเฉพาะทางด้านเหนือ

**********************************