วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัวจ้า

ประวัติส่วนตัวจ้า

ชื่อ นางสาว ปาริชาติ เปี่ยมพืชชนะ ชื่อเล่น ส้ม

อายุ 21 ปี วันเดือนปีเกิด 15 มิถุนายน 2529

สีที่ชอบ สีดำ สีน้ำเงิน สีเทา อาหารที่ชอบ เกาเหลา ข้าวผัดไข่

การศึกษา ปริญญาตรี ปี 3 สถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีลพบุรี

งานอดิเรก ฟังเพลง สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ ภูเขา ทะเล อาชีพในอนาคต เจ้าของกิจการ

คติประจำใจ อดีตไม่สำคัญปัจจุบันสำคัญกว่า เพื่อนในกลุ่ม ฝ้าย ตุ๊กตา เอ๋ วิ



***********************************

***----***หวังว่าเว็บไซต์ที่ได้สร้างมานี้ได้สร้างให้เพื่อนได้รับความรู้กับเรื่องนกได้มากเลยที่เดียวใครสนใจเชิญเข้ามาอ่านกันได้เลยนะค่ะไม่หวงค่ะ โดยเฉพาะเพื่อน ๆ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปี 50 ทุกคนนะค่ะขอบคุณค่ะ
*****----------------------------*****

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร



นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (หนึ่งเดียวในโลก)


*--*ลักษณะโดยทั่วๆไปคล้ายนกนางแอ่น (Swallows) แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวตัว 15 เซนติเมตร ตัวสีดำเหลือบน้ำเงินเข้ม ใต้คอสีน้ำตาลดำ หน้าผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขาและแข้งเป็นสีชาพู จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ นกเจ้าฟ้าฯ จะมีขอบตาสีขาวเป็นวงรอบตาเห็นได้ชัดเจน ทำให้เห็นเหมืนว่าตาของมันพองโปนขึ้นมา ชาวบ้านเรียกนกชนิดนี้ว่า " นกตาพอง" บริเวณสะโพกมีแถบสีขาวขนาดใหญ่เด่นชัด และในขณะที่นกนางแอ่นมีขนหางยาวแฉกลึกนั้น นกเจ้าฟ้าฯ จะมีหางสั้นกลมมน และนกที่โตเต็มที่แล้วจะมีแกนหางคู่กลางเส้นเล็กๆ 2 เส้น ยี่นยาวออกมาประมาณ 8.5 เซนติเมตร คล้ายหางนกหางบ่วง แต่ปลายบ่วงมีขนาดเล็กมาก มีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 35 มิลลิเมตร ปากของนกเจ้าฟ้าฯ มีลักษณะแบนกว้างกว่าปากของนกนางแอ่นมาก
*--*นกเจ้าฟ้าฯ เป็นนกเฉพาะถิ่น (endermic species ) ที่พบได้เพียงแห่งเดียวในโลก คือที่บึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นนกโบราณที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้น้อย จึงมีเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก มีรายงานการค้นพบที่สามารถยืนยันได้เพียง 10 ตัวเท่านั้น และจากรายงานการพบเห็นครั้งหลังสุด ในปี พ.ศ. 2523 จนกระทั้งผ่านมาถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาร่วม 20 ปีมาแล้ว ที่เราไม่ได้เห็นนกเจ้าฟ้าฯ อีกเลย และจากการจัดให้มีการประชุมของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง สถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย โดยกลุ่มนักชีววิทยาในประเทศไทย เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2539 นั้น นกเจ้าฟ้าฯ ได้ถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครสามรถยืนยันได้ว่า ยังมีนกเจ้าฟ้าฯ หลงเหลืออยู่ หรือว่าได้สูญพันธุ์หมดสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว เพราะหลังจากการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2546 นับเป็นเวลาล่วงเลยมาถึง 20 กว่าปีแล้ว ที่เราไม่ได้รับรายงานการพบเห็นนกเจ้าฟ้าฯ อีกเลย จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ทำการค้นหาและศึกษานกเจ้าฟ้าฯ กันอย่างอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้อนุรักษ์นกที่หายากที่สุดในโลก ชนิดนี้ไว้เป็นสมบัติของชาติและของโลกสืบไป
***************************************

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

นกพิราบป่า



นกพิราบป่า (Rock Pigeon)

*--*ลำตัวป้อม หัวเล็ก ขนปกคลุมลำตัวหลากสี แต่ที่พบมากที่สุดมีสีเทาเข้ม และมีแถบใหญ่สีดำขวางที่ปีกสองเส้น คอมีแถบสีเขียวเหลือบ ปากดำและขาแดง เป็นต้นตระกูลของนกพิราบที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน นกที่พบตามธรรมชาติมักเกาะอยู่ตามสายไฟหรือหลังคาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังตามสิ่งก่อสร้างหรือซอกหิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายทั่วประเทศ ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง

*******************************


นกเขาพม่า



นกเขาพม่า (Oriental Turtle Dove)


*---*ลักษณะคล้ายนกเขาใหญ่ ต่างกันตรงที่มีแถบสีดำข้างคอแบ่งเป็นสองแถบไม่ต่อเนื่องกัน และในแถบเป็นลายขีดขาวไม่เป็นจุดอย่างนกเขาใหญ่ อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น และป่าละเมาะ บางครั้งพบเป็นฝูงใหญ่มาก มักหากินตามพื้นดิน อาหารคือ เมล็ดพืช ขุยไผ่และยอดอ่อนของพืช ผสมพันธุ์เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้หรือกิ่งไผ่ สูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3.6 เมตร วางไข่ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อย มีบางส่วนเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์

***************************************

นกเขาใหญ่


นกเขาใหญ่ , นกเขาหลวง (Spotted Dove)


*--*ลำตัวป้อม หัวเล็ก คอ ปากและขาสั้น ขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล มีขีดสีคล้ำกระจายอยู่ทั่ว หัวมีสีเทา หลังคอตอนล่างมีจุดกลมเล็กๆ กระจายอยู่บนแถบพื้นสีดำ อาศัยอยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ ทุ่งโล่งและป่าโปร่ง เวลาหากินจะลงมาเดินหากินอยู่ตามพื้นดิน อาหารได้แก่เมล็ดพืช ผสมพันธุ์เดือนมีนาคม ถึงกรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้ พุ่มไม้หรือป่าไผ่ วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วประเทศ

******************************************

นกเขาลายใหญ่


นกเขาลายใหญ่ (Barred Cuckoo Dove)

*--*ตัวผู้มีลักษณะทางด้านบนตัวมีลายขวางๆ เล็ก สีน้ำตาลปนแดงและสีดำ บริเวณท้ายทองบนกระหม่อม หลังตอนบนและหน้าอกมีสีม่วงอมเขียวเป็นมันวาว คอสีเนื้อ ตัวเมียท้องมีน้ำเงินเข้ม และมีลายขวางๆเล็ก สีดำ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ อาหารคือ แมลงเล็กๆ เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชบางชนิดโดยหากินรวมกันเป็นฝูง ผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายน ทำรังตามต้นไม้หรอกอไผ่ ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยยกเว้นทางภาคใต้
**********************************

นกเขาลายเล็ก



นกเขาลายเล็ก ( Little Cuckoo Dove)


*--*ตัวผู้หัวสีส้ม ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลมีลายสีส้ม หางสีดำ ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลจาง มีลายสีขาวคาดบนหน้าอก ตัวเมียสีคล้ำกว่าและลายเด่นชัดกว่า อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ บางครั้งจะลงมาบนพื้นดินเพื่อกินแมลงเล็กๆ เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชบางชนิด เป็นนกที่ค่อนข้างเชื่อง ผสมพันธุ์เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน ทำรังตามง่ามไม้สูงจากพื้นดินไม่เกิน 8 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อยเฉพาะทางด้านเหนือ

**********************************



นกเขาเขียว


นกเขาเขียว ( Emeral Dove)


*--*ปีกและหลังมีสีเขียวสดเป็นเงาวาว ตัวผู้มีหน้าผากและคิ้วขาว บนกระหม่อมมีสีเทาจางๆ ส่วนตัวเมียมีสีตัวหม่นกว่าและบนกระหม่อมมีสีน้ำตาล อาศัยตามป่าดงดิบในบริเวณที่โล่งเตียน มักลงมาหากินบนพื้นดินตามลำพัง และพบได้บ่อยตามริมถนนในป่าต่างๆ อาหารคือ เมล็ดพืชและแมลงบางชนิด เช่น ปลวก ผสมพันธุ์เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังเล็กกกๆ บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือป่าไผ่สูงจากพื้นประมาณ 2- 8 เมตร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยเกือบทั่วประเทศ

*********************************

นกเขาชวา



นกเขาชวา ( zebra Dove)


*--*คอสั้น หัวเล็ก ปากเล็กเรียวกลม หน้าผากจนถึงกลางหัว แก้ม คางและใต้คอสีเทาอมฟ้า ท้ายทอยสีเทาแกมน้ำตาลแดง รอบๆคอลงมาถึงด้านข้างหน้าอกเป็นลายบั้งสีดำสลับขาวถี่ๆ เหมือนลายของม้าลาย ส่วนหลัง ตะโพก ขนคลุมหางและขนคลุมปีกสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ปลายขนเป็นสีดำดูเป็นลายๆ อาศัยอยู่ตามละเมาะป่า พื้นที่เกษตร หรือกระทั่งในเมือง อาหารคือเมล็ดพืชทั่วๆไป ผสมพันธุ์วางไข่ตลอดทั้งปี ทำรังตามง่ามไม้หรือพุ่มไม้ วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ในอดีตเป็นนกที่มีการนำเข้ามาเลี้ยงจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันสามารถอยู่ได้ในธรรมชาติ พบเห็นได้ทั่วทุกภาคและพบได้บ่อยทางภาคใต้
********************************************

วิวัฒนาการของนก



วิวัฒนาการของนก


*--*นกมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ยังไม่สามารถชี้ชัดหรือระบุลงไปอย่างแน่นอนได้ แต่ก็มีหลักฐานหลายอย่างที่พอจะบอกวิวัฒนาการและความเป็นมาของนกได้ โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่านกมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน หลักฐานชิ้นสำคัญคือซากดึกดำบรรพ์อายุ 150 ล้านปี ซึ่งค้นพบที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ.2504 มีชื่อเรียกว่า อาร์เคออปเทอริกซ์ ลักษณะกึ่งนกกึ่งสัตว์เลื้อยคลาน มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา โดยค้นพบในบริเวณที่อดีตเคยถูกน้ำท่วมถึง เมื่อนกชนิดนี้ตายลง จึงถูกโคลนตะกอนทับถมอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงร่างของกระดูกและขนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์กาลเวลาที่ผ่านไปนานนับล้านปี โคลนตะกอนเหล่านี้ก็ค่อยๆ กลายเป็นหิน จากหลักฐานชิ้นนี้จะเห็นโครงร่างของปีกและขาอย่างเด่นชัด แต่มันมีฟันและหางเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาว่า อาร์เคออปเทอริกซ์ มีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีลำตัวตั้งตรง สามารถวิ่งได้ ไม่ใช่พวกไดโนเสาร์ที่เดินแบบสี่เท้า
ต่อมาก็มีนกชนิดต่างๆ เกิดขึ้น เช่น นกเฮสเพอร์ออนิส ขนาดลำตัวยาวถึง 1.5 เมตร ว่ายน้ำได้เก่งมาก มีชีวิตอยู่เมื่อ 100 ล้านปีก่อน ส่วนนกที่อยู่ในช่วงเดียวกันอีกตัวคือ นกอิชธิออร์นิส เป็นนกกินปลามีขนาดเล็กเท่ากับนกพิราบ สามารถบินได้ดีมาก ส่วนนกที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น นกไดแอทรีมา เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของนกกระจอกเทศ สูงเกือบสองเมตร มีชีวิตอยู่ในช่วง 60 ล้านปีก่อน และนกก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบนแกล้วกว่าเก้าพันชนิด สำหรับในเมืองไทยของเรา ค้นพบนกแล้วมากกว่า 960 ชนิด หรือเกือบสิบเปอร์เซนต์จากนกที่พบทั้งหมดทั่วโลก
*--*นกเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลัง มีส่วนสำคัญคือ ปีก ที่ช่วยให้สามารถโบยบินสู่ท้องฟ้าได้ และโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายที่เอ้ออำนวยให้บินได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ เช่น กระดูกที่มีลักษณะกลวงเป็นโพรงแต่มีสิ่งที่ค้ำจุนเพิ่มความแข็งแรงภายใน มีถุงลมกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว ทำให้มีน้ำหนักเบา การพยุงตัวให้ลอยในอากาศทำได้ง่าย เนื่องจากการบินของนกต้องการพลังงานที่สูงมาก จึงมีอัตราการเผาผลาญอาหารและสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว นกบางชนิด เช่น นกกางเขนมีการไหลเวียนของโลหิตด้วยอัตราการเต้นของหัวใจเกือบ 600 ครั้งต่อวินาที ทำให้ต้องกินอาหารเป็นปริมาณมาก โดยกินตัวหนอน 15 ตัว ในหนึ่งชั่วโมง ส่วนนกติ๊ดใหญ่จะกินไข่หนอนถึง 5,500 ฟองต่อวัน และเนื่องจากนกไม่มีฟัน ระบบการย่อยอาหารจึงทำหน้าที่ย่อยอาหารจนสมบูรณ์ สำหรับนกที่กินพืช จะใช้ส่วนของกะเพาะบดอาหารเป็นตัวบดจนละเอียด นกบางชนิดกินเม็ดทรายเข้าไปด้วยเพื่อช่วยในการบดอาหารให้ดีขึ้น

**********************************